การเดินทางด้วยความเร็วแสงเป็นความฝันของมนุษย์ที่จะใช้สำรวจเอกภพ ทฤษฎีสัมพัทธภาพกล่าวว่าวัตถุมีมวลใดๆไม่สามารถมีความเร็วได้เท่ากับแสง เพราะวัตถุนั้นจะต้องใช้พลังงานเป็นอนันต์ซึ่งพลังงานทั้งเอกภพก็ไม่สามารถมีได้
ความเร็วใกล้แสง
อย่างไรก็ตามวัตถุมีมวลอาจเดินทางด้วยความเร็วใกล้แสงได้ โดยมีความเร็ว 90% ของแสงหรืออาจถึง 99.99% ของแสงได้ ทั้งนี้ประสบการณ์ของการเดินทางด้วยความเร็วใกล้แสงนั้นจะทำให้วัตถุใดๆพบกับเหตุการณ์ดังนี้
การยืดของเวลา
ตามปกติเวลาของทุกคนจะเท่ากัน แต่ผู้ที่เดินทางด้วยความเร็วราว 87% ของความเร็วแสง เวลาจะช้ากว่าผู้ที่หนุดนิ่งอยู่ถึงครึ่งนึงตามกราฟด้านล่าง

CC BY-SA 3.0
อันตรายในการเดินทางด้วยความเร็วแสง
นอกจากการเดินทางด้วยความเร็วแสงจะเป็นวิธีการสำรวจเอกภพที่เยี่ยมยอดแล้ว การเดินทางด้วยความเร็วสูงเช่นนี้ยังเสี่ยงต่อการกระทบกับอนุภาคอื่นๆระหว่างเดินทาง อนุภาคเท่าก๊าซไฮโดรเจนอาจพอทำให้ยานเกิดรอยขึ้น แต่ถ้ามีวัตถุเช่นเสก็ดดาวหางมากระทบอาจทำให้ยานเสียหายจนใช้การไม่ได้ทีเดียว
การเดินทางความเร็วสูงด้วยวิธีอื่น
นักวิทยาศาสตร์ต่างฝันถึงวิธีการเดินทางความเร็วสูงวิธีต่างๆมากมาย เป็นเรื่องดีที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษอนุญาติให้การเดินทางความเร็วสูงอื่นๆไว้บ้างเช่น Warp Drive, รูหนอน
จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดสามารถคิดค้นวิธีการเดินทางแบบดังกล่าวได้เลยแม้ทฤษฎีอนุญาติไว้ก็ตาม
ที่มา
https://en.wikipedia.org/wiki/Time_dilation