Tuesday, 19 March 2024

เศรษฐศาสตร์สมดุล

ในระบบเศรษฐกิจที่ใช้การกำหนดมูลค่าสินค้าด้วยความต้องการซื้อและการขายนั้น ระบบดังกล่าวอาจนำไปสู่สภาวะที่สินค้าบางชนิดมีราคาสูงเกินไปและถูกเกินไปมากๆจนผิดปกติได้ในกรณีดังนี้

  1. ความต้องการซื้อสินค้าสูงมากแม้ราคาสินค้าสูงอยู่แล้วทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอีกเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ตัวอย่าง โทรศัพท์เคลื่อนที่ระดับสูงมีผู้ต้องการซื้อจำนวนมากเมื่อออกรุ่นใหม่ราคาก็สูงไปเรื่อยๆแต่สามารถขายได้ปริมาณมากเพราะคนมีความต้องการจำนวนมาก
  2. ความต้องการซื้อต่ำแต่สินค้ามีปริมาณมาก กรณีนี้ผู้ขายจำใจลดราคาสินค้าแม้ขาดทุนเพราะต้องการระบายสินค้า เช่น ข้าว สินค้าเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา

ทั้งสองกรณีเกิดจากปริมาณการผลิตไม่สมดุลกัน เกิดภาวะราคาไม่เหมาะสมกับเศษฐกิจของประชาชน นำมาสู่ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาหนี้สินครัวเรือน

การแก้ไขทางเศรษฐศาสตร์ทำได้โดยการให้ความรู้ประชาชนให้ใช้จ่ายอย่างพอเพียง ไม่ใช้จ่ายเกินฐานะ และให้ข้อมูลข่าวสารด้านราคาเพื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบราคาและเลือกซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ให้ราคาที่ถูกที่สุดหรือเหมะสมในเวลานั้น

ส่วนกรณีที่สินค้ามีราคาถูกเกินไป ผู้ผลิตต้องเลือกที่จะไม่ผลิตสินค้าให้เกินความต้องการซื้อ ผู้ผลิตต้องติดตามและหาข้อมูลปริมาณความต้องการซื้อที่แท้จริงก่อนทำการผลิตสินค้า ควรมีหน่วยงานที่แจ้งความต้องการซื้อของประชาชน ให้ข้อมูลสินค้าที่มีความต้องการซื้อเพื่อผู้ผลิตเลือกได้ว่าจะผลิตสินค้าใด

ในภาวะที่เศษฐกิจสมดุล สินค้าจะมีราคาที่เหมาะสมกับฐานะของประชาชน และไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด เพราะเงินหมุนเวียนในระบบได้ดี เป็นจุดที่การดำเนินประเทศเป็นไปโดยปกติได้ ไม่มีปัญหาทางเศรฐกิจ