Saturday, 27 July 2024

สุดยอดปรากฎการณ์ทางวิทยาศาสตร์

13 Feb 2020
1610

สูญญากาศเดือด

สูญญากาศเดือด
ภาพ CC-BY-SA 4.0

เราสามารถทำให้สูญญากาศเดือดโดยการใช้สนามไฟฟ้าที่สูงมากๆได้ โดยการให้ความต่างศักย์ระหว่างตัวนำสองเส้นที่ความต่างศักย์ 10^18 V/m

ผลที่ได้คือเราจะได้คู่สสาร ปฏิสสารตามสมการ schwinger effect

คลื่นแรงโน้มถ่วง

คลื่นแรงโน้มถ่วง
ภาพ CC-BY-SA 3.0

เมื่อมวลขนาดใหญ่ตั้งแต่สองมวลชนกัน เช่นหลุมดำขนาดใหญ่สองอัน จะเกิดคลื่นที่มาจากการกระแทกกาลอวกาศขึ้น คลื่นแรงโน้มถ่วงนี้เดินทางด้วยความเร็วแสง

คลื่นนี้เมื่อเดินทางผ่านวัตถุใดจะทำให้วัตถุด้านที่ขนานกับคลื่นขยายออกเล็กน้อย

เชื่อว่าตอนกำเนิดจักรวาลหรือ บิกแบงก็ทำให้เกิดคลื่นดังกล่าวนี้ การศึกษาคลื่นโน้มถ่วงจึงทำให้เราเข้าใจการเกิดจักรวาลได้โดยตรงวิธีหนึ่ง

ของเหลวยิ่งยวด Superfluid

ของเหลวยิ่งยวด
ภาพ Public Domain

ของเหลวยิ่งยวด เมื่อวัตถุเช่นฮีเลียมเย็นจัดจะเกิดเป็นของเหลวที่ประพฤติตัวเช่นอะตอม โมเลกุลที่แยกกันจะรวมกันเหมือนเป็นอะตอมเดียว

ของเหลวยิ่งยวดที่รักษาความเย็นไว้จะเคลื่อนที่ในภาชนะไปตลอดเวลา

ประโยชน์ของเหลวยิ่งยวดช่วยให้เราค้นพบพฤติกรรมของอะตอมที่เราไม่เคยทราบมาก่อน

Quantum Entanglement

Quantum Entanglement คือปรากฏการณ์ที่อนุภาคควอนตัมที่เข้าคู่กันจะส่งผ่านค่าสถานะควอนตัม ระหว่างกันไม่ว่าจะอยู่ห่างกันเท่าใด

ปรากฏการณ์นี้คงความฉงนใจให้นักวิทยาศาสตร์มาตลอด

ปรากฏการณ์คาสิเมียร์ Casimir Effect

หากเรานำตัวนำสองตัวมาวางไว้ใกล้กันระดับไมโครเมตรถึงระดับนาโนเมตร จะเกิดแรงกระทำตามระยะห่างนั้น

แรงที่ว่านี้เชื่อว่าเป็นแรงที่มาจากพลังงานสูญญากาศ คาสิเมียร์เป็นคนแรกที่กล่าวถึงแรงนี้