ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดค้นพบการบันทึกข้อมูลลงบนชั้นโลหะแบบบางที่วางซ้อนกันสามชั้น
ทีมวิจัยได้ใช้ tungsten ditelluride ที่วางซ้อนกันหนาเพียง 3 อะตอม เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยจะทำให้วัสดุในชั้นคี่เลื่อนตัวเมื่อเทียบกับชั้นคู่การเลื่อนตัวดังกล่าวเป็นไปอย่างถาวรจนกว่าจะผ่านกระแสไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อต้องการทราบว่าชั้นมีการเลื่อนหรือไม่ สามารถทำได้โดยวิธี Berry Curvature
ทีมวิจัยกล่าวว่ามันต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยในการเลื่อนชั้นของวัสดุดังกล่าว จึงใช้พลังงานน้อยกว่าหน่วยความจำในปัจจุบันมาก การเลื่อนอะตอมก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงควรมีความเร็วในการบันทึกข้อมูลมากกว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน
ที่มา Stanford