การแบ่งวันออกเป็นส่วนย่อยมีมาตั้งแต่อารยธรรมโบราณ ซึ่งในอดีตการนับของมนุษย์ใช้หน่วยย่อยเป็น 12 และ 60
อารยะธรรมอียิปต์ ใช้นาฬิกาแดดแบ่งเวลากลางวันเป็น 10 ส่วน และให้ 1 ส่วนก่อนและหลังพระอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นเวลาเฉพาะต่างหาก ชาวอียิปต์จีงแบ่งกลางวันออกเป็น 12 ส่วนนั่นเอง
ต่อมาชาวอียิปต์จึงแบ่งเวลากลางคืนออกเป็น 12 ส่วนเท่ากับกลางวันโดยอาศัยกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับเวลากลางวัน ทำให้เราแบ่งวันออกเป็น 24 ส่วนสืบต่อมานั่นเอง ซึ่งในอดีตนั้น เวลากลางวันและกลางคืนในแต่ละฤดูจะยาวไม่เท่ากันทำให้ชั่วโมงในตอนกลางวันของฤดูร้อนยาวกว่าชั่วโมงกลางวันของฤดูหนาว
เพราะการใช้เลขฐาน 12 และ 60 เป็นที่นิยมสืบต่อมา ภายหลังในยุคกรีก
Hipparchus จึงทำการแบ่ง Ecliptic ออกเป็น 60 ส่วนเรียก minute และแบ่ง minute ออกเป็น 60 ส่วนเรียกว่า second และเขายังเสนอให้แบ่งวันออกเป็น 24 ชั่วโมงเท่าๆกันอีกด้วย อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ได้ใช้การนับเวลาของ
Hipparchus เนื่องจากไม่เป็นที่นิยม
จนภายหลังศตวรรษที่ 14 เมื่อมีนาฬิกากลไกจึงมีการใช้ 24 ชั่วโมงแบบแบ่งเท่า และปรากฎการแบ่งชั่วโมงออกเป็น 60 นาที และ 1 นาทีเป็น 60 วินาที
ทำไม 1 อาทิตย์มี 7 วัน
ในอดีตแต่ละอารยธรรมแบ่งสัปดาห์เป็น 10 วันบ้าง 8 วันบ้าง แล้วแต่อารยธรรม แต่ชาวบาบิโลนซึ่งใช้ปฏิทินแบบจันทรคติ พบว่ารูปร่างของดวงจันทร์ เปลี่ยนไปทุก 7 – 8 วัน โดยครบ 29.5 วันจะเป็นหนึ่งเดือน ทำให้ 1 เดือนมี 29 หรือ 30 วัน ไม่เท่ากัน โดยเดือนที่มี 29 วัน จะมีระยะวันการเปลี่ยนรูปร่างพระจันทร์เป็น 7-7-7-8 และเดือนที่มี 30 วันจะ
มีระยะวันการเปลี่ยนรูปร่างพระจันทร์เป็น 7-7-7-9
และชาวบาบิโลเนียนยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพประจำดาวเคราะห์ จึงนำชื่อดาวเคาระห์มาตั้งเป็นชื่อวัน โดยเมื่อเรียงดาวเคราะห์ทั้ง 7 ตามคาบการโคจรจะได้
ดาวเสาร์ (มีคาบการโคจรประมาณ 29.42 ปี) ดาวพฤหัสบดี (มีคาบการโคจรประมาณ 11.85 ปี) ดาวอังคาร (มีคาบการโคจรประมาณ 1.88 ปี) ดวงอาทิตย์ (มีคาบการโคจรประมาณ 1 ปี) ดาวศุกร์ (มีคาบการโคจรประมาณ 224 วัน) ดาวพุธ (มีคาบการโคจรประมาณ 88 วัน) และดวงจันทร์ (มีคาบการโคจรประมาณ 29.5 วัน)
ทำไมเราถึงเรียงวันในสัปดาห์เป็นวันอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์
เนื่องจากเมื่อเรียงดาวเคราะห์ตามคาบการโคจรจะได้
ดาวเสาร์ (มีคาบการโคจรประมาณ 29.42 ปี) ดาวพฤหัสบดี (มีคาบการโคจรประมาณ 11.85 ปี) ดาวอังคาร (มีคาบการโคจรประมาณ 1.88 ปี) ดวงอาทิตย์ (มีคาบการโคจรประมาณ 1 ปี) ดาวศุกร์ (มีคาบการโคจรประมาณ 224 วัน) ดาวพุธ (มีคาบการโคจรประมาณ 88 วัน) และดวงจันทร์ (มีคาบการโคจรประมาณ 29.5 วัน)
เมื่อนับชั่วโมงแรกของสัปดาห์ให้เริ่มที่ดาวเสาร์และนับแต่ละชั่วโมงตามชื่อดาวที่โคจรจากช้าไปเร็วจะได้ว่าแต่ละวันมีชั่วโมงแรกของวันเป็นชื่อดาว
เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์
ตามลำดับวันที่เราใช้ในปัจจุบันนั่นเอง
ทำไม 1 ปีมี 12 เดือน
อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า เนื่องจากอารยธรรมโบราณนิยมใช้การนับแบบระบบฐาน 12 กับ 60 ดังนั้นมนุษย์จึงแบ่งปี ออกเป็น 12 เดือน ซึ่งไม่ยาวเกินไป และไม่สั้นเกินไปนัก
ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน แต่ในอดีตหลายอารยธรรมใช้ปฏิทินจันทรคติ ทำให้ 1 ปีมี 354 วันซึ่งทำให้ฤดูกาลไม่ตรงตามความเป็นจริง
ทำไม 1 ปีมี 365 วัน
นักดาราศาสตร์โบราณพบว่า 1 ปีมี 365 วัน ตามแบบสุริยคติ ซึ่งการนับวันแบบนี้จะทำให้ฤดูกาลของแต่ละปีถูกต้อง ต่อมาจึงมีการปรับปฏิทินจันทรคติให้ตรงกับแบบสุริยคติ โดยการเพิ่มวันในแต่ละเดือนลงไปนั่นเอง
ทำไมบางเดือนมี 30 วัน บางเดือนมี 31 วัน
ปฏิทินปัจจุบันเป็นการประยุกต์มาจากปฏิทินของโรมัน ซึ่งเดิมมี 10 เดือน และมีวันในฤดูหนาวอีก 60 วัน ต่อมาจักรพรรดิ Romulus ทำการเพิ่มเดือน January และ February เข้าไป โดยให้วันในแต่ละเดือนเป็น 29, 28, 29, 31, 29, 31, 29, 31, 29, 31, 29, 29 รวมเป็น 355 วัน ต่อมา จักรพรรดิ Julius Ceasar พบว่าวันสำคัญไม่ตรงตามฤดูกาล จึงนำเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์มาใช้โดยปรับจำนวนวันใหม่เป็น 31, 28, 31, 30, 31, 30, 31, 31, 30, 31, 30, 31 และในปีอธิกสุรทินให้เดือน 2 มี 29 วัน รวมเป็นมี 365-366 วันต่อปี
โดยปฏิทินแบบ Julian Calendar ถูกใช้ในปี 45 ก่อนคริสตศักราช และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคมอีกด้วย