ปีหลังจากคศ.2000 | เหตุการณ์
|
---|
1,000 | ความยาวเฉลี่ยของวันสุริยะมีแนวโน้มที่จะเกิน 86,400¹⁄₃₀ วินาทีในมาตรฐาน SI เนื่องจากแรงไทดัลจากดวงจันทร์ทำให้การหมุนของโลกช้าลง ทำให้ การแทรกวินาทีอธิกสุรทินในมาตรฐาน UTC ในปัจจุบันของเมื่อสิ้นเดือน UTC ไม่เพียงพอที่จะทำให้เวลา UTC ถูกต้องในระดับวินาทีตามมาตรฐาน UT1 ตลอดเวลา เพื่อปรับให้เวลาถูกต้อง จำเป็นต้องเพิ่มวินาทีอธิกสุรทินหลายครั้งในช่วงเดือนนั้น หรือจะต้องเพิ่มวินาทีอธิกสุรทินหลายวินาทีเมื่อสิ้นสุดบางเดือนหรือทุกเดือน |
|
10,000 | ถ้า “ปลั๊กน้ำแข็ง” Wilkes Subglacial Basin ไม่ละลายในอีกไม่กี่ศตวรรษข้างหน้า ในเวลานี้แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกตะวันออกจะละลายจนหมด ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 3-4 เมตร นี่เป็นผลกระทบในระยะยาวของภาวะโลกร้อนนี้อย่างหนึ่ง |
10,000 | ดาวแดงยักษ์ Antares มีแนวโน้มที่จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา การระเบิดสามารถมองเห็นได้ง่ายบนโลกในเวลากลางวัน |
13,000 | ในเวลานี้ วัฏจักรการส่ายของแกนโลกใช้เวลาครบครึ่งหนึ่ง ความเอียงของแกนโลกจะกลับด้าน ทำให้ฤดูร้อนและฤดูหนาวเกิดขึ้นตรงข้ามกับเดือนในปัจจุบัน ทำให้ภูมิอากาศในซึกโลกเหนือแตกต่างกันรุนแรงกว่าปัจจุบันมาก เนื่องจากในฤดูหนาวดวงอาทิตย์จะอยู่ไกลโลกที่สุด และในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะอยู่ใกล้โลกที่สุด |
15,000 | ตามที่ทฤษฎี Sahara pump theory การส่ายของแกนโลกจะทำให้ North African Monsoon เคลื่อนไปไกลพอที่จะทำให้ซาฮารากลับเข้ามามีสภาพภูมิอากาศเขตร้อนอีกครั้งเช่นเมื่อ 5,000-10,000 ปีที่ผ่านมา ] |
17,000 | เวลาที่แม่นยำสุดในการทำนายการระเบิดของ supervolcanic “การคุกคามอารยธรรม” ครั่้งใหญ่ที่จะคายวัสดุ pyroclastic ออกมาถึง 1,000 gigatonnes |
25,000 | แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกเหนือของดาวอังคารจะลดลง เนื่องจากดาวอังคารถึงจุดที่ร้อนสุดในซีกโลกเหนือในคาบ precession perihelion 50,000 ปีตามวัฏจักร Milankovitch cycle
|
36,000 | ดาวแคระแดงขนาดเล็ก Ross 248 จะเคลื่อนเข้าใกล้โลกในระยะ 3.024 ปีแสง กลายเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด แต่จะห่างออกไปอีกหลังจากนั้นประมาณ 8,000 ปี ทำให้Alpha Centauri อยู่ใกล้โลกที่สุด(อีกครั้ง) และGliese 445เป็นดาวที่ใกล้รองลงมา |
50,000 | ตามการศึกษาเบอร์เกอร์และ Loutre (2002) ระยะเวลาของ interglacial ปัจจุบันจะสิ้นสุดลง โลกจะกลับสู่เป็นยุคน้ำแข็งอีกครั้งโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของมนุษย์ต่อภาวะโลกร้อน
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ (2016) ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์อาจทำให้ยุคน้ำแข็งที่คาดการณ์ไว้ล่าช้าไปอีก 50,000 ปี ทำให้ไม่เกิดยุคน้ำแข็งขึ้น
น้ำตกไนแอการา จะถูกกัดเซาะส่วนที่เหลืออีก 32 กิโลเมตรไปทางทะเลสาบอีรีและสูญหายไปในที่สุด ทะเลสาบน้ำแข็งหลายแห่งของ Canadian Shield จะกลายเป็นผืนดิน |
50,000 | ความยาวของวันทางดาราศาสตร์จะยาวประมาณ 86,401 วินาที จากผลขแงแรงไทดัลของดวงจันทร์ จำเป็นต้องเพิ่มเวลาอธิกสุรทินวินาทีทุกวัน |
100,000 | การเคลื่อนที่เฉพาะของดาวฤกษ์ทั่วทรงกลมท้องฟ้า เป็นผลเกิดเป็น กลุ่มดาวที่เราไม่รู้จัก
|
100,000 | ดาว VY Canis Majoris ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา |
100,000 | ไส้เดือนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือเช่น Megascolecidae จะแพร่กระจายไปทางเหนือโดยธรรมชาติจากบริเวณ Upper Midwest ของสหรัฐอเมริกาไปยังชายแดนแคนาดา – สหรัฐอเมริกาโดยฟื้นตัวจากธารน้ำแข็ง Laurentide (38°N ถึง 49°N) โดยมีอัตราการอพยพอยู่ที่ 10 เมตรต่อปี (อย่างไรก็ตาม มนุษย์ได้นำไส้เดือนที่รุกรานจากถิ่นอื่นที่ไม่ใช่พื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือมาใช้ในระยะเวลาที่สั้นกว่ามาก ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนต่อระบบนิเวศในภูมิภาค) |
> 100,000 | 10% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากมนุษย์จะยังคงอยู่ในบรรยากาศ นี่เป็น หนึ่งในผลกระทบระยะยาวของภาวะโลกร้อน |
250,000 | Lōʻihi ภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุดในกลุ่มภูเขาใต้ทะเล Hawaiian–Emperor seamount chain จะลอยขึ้นเหนือพื้นผิวมหาสมุทรและกลายเป็นเกาะภูเขาไฟแห่งใหม่ |
300,000 | ที่เวลาใดเวลาหนึ่งในไม่กี่แสนปีข้างหน้าดาว Wolf-Rayet WR 104 อาจเกิดการระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา มีโอกาสเล็กน้อยที่ WR 104 จะหมุนเร็วพอที่จะทำให้เกิดการระเบิดของรังสีแกมมา และมีโอกาสน้อยกว่าที่รังสีดังกล่าวอาจเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตบนโลก |
500,000 | โลกน่าจะโดนดาวเคราะห์น้อยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กม.ชน ถ้ามนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ |
500,000 | ภูมิประเทศที่ขรุขระของอุทยานแห่งชาติ Badlands ในเซาท์ดาโคตาจะถูกกัดเซาะไปหมด |
1 ล้านปี | หลุมอุกกาบาตในรัฐแอริโซนาที่ถือว่าเป็นหลุมอุกกาบาตที่ “ใหม่ที่สุด” จะถูกกัดเซาะออกไป |
1 ล้านปี | เวลาประมาณสูงสุดที่ดาวซุปเปอร์ยักษ์สีแดง Betelgeuse จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา ซุปเปอร์โนวาจะปรากฏบนโลกในเวลากลางวันเป็นเวลาอย่างน้อยสองสามเดือนที่ การศึกษาแนะนำว่าซุปเปอร์โนวานี้จะเกิดขึ้นภายในหนึ่งล้านปี หรือแม้แต่ในอีก 100,000 ปีข้างหน้า |
1 ล้านปี | ดวงจันทร์ Desdemona และ Cressida ของดาวยูเรนัสน่าจะชนกัน |
1.28 ± 0.05 ล้านปี | ดาว Gliese 710 จะโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ ถึง 0.0676 พาร์เซกหรือ 0.221 ปีแสง (14,000 หน่วยดาราศาสตร์ ) ก่อนจะเคลื่อนตัวออกไป ทำให้สมาชิกของเมฆออร์ตถูกรบกวนด้วยแรงโน้มถ่วง หลังจากนั้นจะเพิ่มโอกาสที่ดาวหางจะชนในระบบสุริยะชั้นใน |
2 ล้านปี | ในตอนนี้ระบบนิเวศแนวปะการังจะฟื้นตัวจากการเป็นกรดของมหาสมุทรที่เกิดจากมนุษย์ |
2 ล้านปี+ | แกรนด์แคนยอนจะกัดกร่อนเพิ่มเติมเล็กน้อย เป็นหุบเขากว้างรอบแม่น้ำโคโลราโด |
2.7 ล้านปี | คาบโคจรครึ่งหนึ่งของดาวเซนทอร์ที่โคจรไม่เสถียรเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของการปฏิสัมพันธ์ของหลายดาวเคราะห์ชั้นนอก |
3 ล้านปี | เนื่องจากการหมุนของโลกช้าลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หนึ่งวันบนโลกจะยาวนานกว่าวันนี้หนึ่งนาที |
10 ล้านปี | ทะเลแดงจะท่วมหุบเขา East African Rift ทำให้เกิดแอ่งน้ำทะเลใหม่จะแบ่งทวีปของแอฟริกา |
10 ล้านปี | เวลาโดยประมาณที่สิ่งมีชีวิตจะฟื้นฟูจากการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ แม้ว่าการสูญพันธ์จะไม่เกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ก็จะหายไปหรือวิวัฒนาการเป็นพันธ์ใหม่ |
10 ล้าน – 1 พันล้านปี | ดวงจันทร์คิวปิดและเบลินดาของดาวยูเรนัสมีแนวโน้มที่จะชนกัน |
50 ล้านปี | เวลาสูงสุดที่ดวงจันทร์โฟบอสจะชนกับดาวอังคาร |
50 ล้านปี | แผ่นเปลือกโลกแอฟริกาและยูเรเซียจะชนกันเกิดเป็นเทือกเขาคล้ายหิมาลัย |
50-60 ล้านปี | เทือกเขาร็อกกี้แคนาดาจะกัดกร่อนจนเป็นที่ราบอัตรา 60 หน่วย Bubnoff ด้านใต้ของเทือกเขาร็อกกี้ในสหรัฐอเมริกามีการกัดเซาะในอัตราที่ค่อนข้างช้ากว่า |
50–400 ล้านปี | เวลาโดยประมาณที่โลกจะมีเชื้อเพลิงฟอสซิลสำรองตามธรรมชาติเพิ่มขึ้น |
80 ล้านปี | เกาะ Big Island ของหมู่เกาะฮาวายที่จะจมอยู่ใต้พื้นผิวของมหาสมุทรในขณะที่ “หมู่เกาะฮาวายใหม่” จะเกิดขึ้นมาแทน |
100 ล้านปี | โลกน่าจะโดนดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเทียบได้กับดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ K–Pg เมื่อ 66 ล้านปีก่อน ถ้าสิ่งนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ |
100 ล้านปี | ตามแบบจำลอง Pangea Proxima ที่สร้างขึ้นโดย Christopher R. Scotese เขตมุดตัวใหม่จะเปิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและอเมริกาจะรวมตัวกับแอฟริกา |
100 ล้านปี | ค่าประมาณอายุสูงสุดของวงแหวนของดาวเสาร์ในปัจจุบัน |
110 ล้านปี | ดวงอาทิตย์จะสว่างเพิ่มขึ้น 1% |
180 ล้านปี | หนึ่งวันบนโลกจะยาวนานกว่าวันนี้หนึ่งชั่วโมง |
230 ล้านปี | ในเวลาหลังจากนี้เราไม่สามารถทำนายวงโคจรของดาวเคาระห์ได้จากข้อจำกัดเวลาของ Lyapunov |
240 ล้านปี | ระบบสุริยะโคจรครบรอบแกแล็กซี่ทางช้างเผือก |
250 ล้านปี | ตามคำทำนายของคริสโตเฟอร์ อาร์. สกอเตส ชายฝั่งของแคลิฟอร์เนียจะชนกับอลาสก้า |
250–350 ล้านปี | ทุกทวีปบนโลกอาจรวมเป็น supercontinent มีสามกรณีคือ Amasia , Novopangaea และ Pangea Ultima โลกจะเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง น้ำทะเลลดระดับและเพิ่มระดับออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิโลกลดลง |
> 250 ล้านปี | วิวัฒนาการทางชีววิทยาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการก่อตัวของมหาทวีปทำให้อุณหภูมิต่ำลงและระดับออกซิเจนสูงขึ้น การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นระหว่างสปีชีส์ต่างๆ อันเนื่องมาจากการก่อตัวของมหาทวีป แต่การปะทุของภูเขาไฟที่เพิ่มขึ้น และสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนจากดวงอาทิตย์ที่สว่างขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ซึ่งชีวิตพืชและสัตว์อาจไม่ฟื้นตัวเต็มที่ |
300 ล้านปี | เนื่องจากการเพิ่มของของ equatorial Hadley cells ไปทางเหนือและใต้ประมาณ 40° ปริมาณพื้นที่แห้งแล้งจะเพิ่มขึ้น 25% [65] |
300–600 ล้านปี | เวลาโดยประมาณที่อุณหภูมิชั้นแมนเทิลองดาวศุกร์ถึงค่าสูงสุด จากนั้นในช่วงเวลาประมาณ 100 ล้านปี จะเกิดการมุดตัวครั้งใหญ่และเปลือกโลกพลิกกลับ |
350 ล้านปี | ตามแบบจำลอง extroversion ที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดย Paul F. Hoffman การมุดตัวของเปลืกโลกจะสิ้นสุดลงในมหาสมุทรแปซิฟิก |
400–500 ล้านปี | มหาทวีป (Pangaea Ultima, Novopangaea หรือ Amasia) จะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นคล้ายกับยุค Cretaceous |
500 ล้านปี | เวลาโดยประมาณที่รังสีแกมมาพลังงานสูงจากซูเปอร์โนวาในระยะ 6,500 ปีแสงจะส่งผลกระทบต่อชั้นโอโซนของโลก และอาจก่อให้เกิดการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ เช่นเดียวกับการสูญพันธ์ในเหตุการณ์ Ordovician-Silurian หากสมมติฐาน Ordovician-Silurian ถูกต้อง อย่างไรก็ตามซุปเปอร์โนวาจะต้องมีทิศสัมพันธ์กับโลกอย่างแม่นยำจึงจะมีผลเช่นนั้น |
600 ล้านปี | ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกเกินกว่าที่จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อีกต่อไป |
500–600 ล้านปี | ดวงอาทิตย์จะสว่างมากขึ้นจนขัดขวางกระบวนการ carbonate–silicate cycle น้ำจะระเหยไปหมด ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลง พืชที่สังเคราะห์แสง C3 จะค่อยๆสูญพันธ์ |
500–800 ล้านปี | เมื่อโลกเริ่มร้อนขึ้นและระดับคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำลง สิ่งมีชีวิตจะวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตกินสัตว์ และปรับตัวให้อยู่รอด โลกจะเต็มไปด้วยทะเลทราย และสิ่งมีชิตจะพบได้ในทะเลมากว่าทั้งพืชและสัตว์ |
800–900 ล้านปี | เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงจนถึงจุดที่พืช C4 ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อีกต่อไป ออกซิเจนอิสระและชั้นโอโซนจะหายไปจากชั้นบรรยากาศ ทำให้ระดับแสงยูวีที่ร้ายแรงมาถึงพื้นผิว ในหนังสือThe Life and Death of Planet Earth ผู้เขียนPeter D. WardและDonald Brownlee ระบุว่าสัตว์บางชนิดอาจสามารถอยู่รอดได้ในมหาสมุทร อย่างไรก็ตามในที่สุด สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทั้งหมดจะตายหมด ในที่สุดชีวิตสัตว์สามารถอยู่รอดได้ประมาณ 100 ล้านปีหลังจากพืชตาย สัตว์ที่รอดได้จะเป็นสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพืช เช่นปลวกหรือ เช่น เวิร์ม ของสกุล Riftia สิ่งชีวิตเดียวที่เหลืออยู่บนโลกหลังจากนี้จะเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว |
1 พันล้านปี] | 27% ของมวลมหาสมุทรจะถูกดูดกลืนเข้าไปในชันแมนเทิลของโลก หากสิ่งนี้ดำเนินต่อไปโดยไม่ขาดตอน มันจะเข้าสู่สมดุลเมื่อน้ำ 65% ของมหาสมุทรหายไป |
1.1 พันล้านปี | ความสว่างของดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกมีค่าประมาณ 320 K (47 °C). ชั้นบรรยากาศจะกลายเป็น “ภาวะเรือนกระจกชื้น”, เนื่องจากการระเหยของมหาสมุทร น้ำบางส่วนยังคงเป็นของเหลวในบริเวณขั้วโลก และยังสามารถเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน |
1.2 พันล้านปี | เวลานานสุดที่พืชจะตาย หากพืชสามารถอยู่ในสภาวะที่คาร์บอนไดออกไซด์ต่ำได้ หลังจากนี้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สัตว์ล้มตาย |
1.3 พันล้านปี | สิ่งมีชีวิตยูคาริโอตตายหมดเนื่องจากขาดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เหลือเพีย ง สิ่งมีชีวิต prokaryotes |
1.5–1.6 พันล้านปี | ดวงอาทิตย์สว่างมากขึ้นทำให้เขตที่อยู่อาศัยของดาวฤกษ์เคลื่อนออกไปด้านนอก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในดาวอังคารทำให้อุณหภูมิพื้นผิวของมันเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับที่คล้ายกับโลกในช่วงยุคน้ำแข็ง |
1.6 พันล้านปี | เวลาประมาณเร็วสุดที่สิ่งมีชีวิตโปรคาริโอตทั้งหมดจะสูญพันธุ์ |
2 พันล้านปี | เวลาประมาณการสูงสุดที่มหาสมุทรของโลกระเหย ถ้าความดันบรรยากาศจะลดลงผ่านวัฏจักรไนโตรเจน |
2.3 พันล้านปี | แกนชั้นนอกของโลกเย็น หากแกนในยังคงเติบโตในอัตราปัจจุบันที่ 1 มม. (0.039 นิ้ว) ต่อปี เมื่อไม่มีแกนนอกที่เป็นของเหลว สนามแม่เหล็กของโลกจะหายไป และอนุภาคที่มีประจุซึ่งเล็ดลอดออกมาจากดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ทำลายชั้นบรรยากาศ |
2.55 พันล้านปี | ดวงอาทิตย์จะมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดที่ 5,820 K (5,550 °C; 10,020 °F) จากนั้นจะค่อยๆ เย็นลงในขณะที่ความสว่างจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ |
2.8 พันล้านปี | อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะอยู่ที่ประมาณ 420 K (147 °C; 296 °F) แม้แต่ที่ขั้วโลก |
2.8 พันล้านปี | สิ่งมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ได้ลดลงเป็นอาณานิคมที่มีเซลล์เดียวในสภาพแวดล้อมจุลภาคที่แยกตัวและกระจัดกระจาย เช่น ทะเลสาบหรือถ้ำบนที่สูงจะสูญพันธุ์ |
3 พันล้านปี | มีโอกาสประมาณ 1 ใน 100, 000 ที่โลกอาจถูกผลักออกสู่อวกาศ และมีโอกาส 1 ใน 3 ล้านที่จะถูกจับจากดาวดวงอื่น หากสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งมีชีวิต สมมติว่ามันรอดชีวิตจากการเดินทางระหว่างดวงดาว อาจดำเนินต่อไปได้อีกนาน |
3 พันล้านปี | มัธยฐานจุดที่เพิ่มขึ้นในระยะที่ดวงจันทร์จากโลกช่วยลดผลกระทบต่อเสถียรภาพของตนในโลกแกนเอียง ด้วยเหตุนี้การเคลื่อนตัวของขั้วโลกที่แท้จริงของโลกจึงกลายเป็นเรื่องโกลาหลและสุดขั้ว นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในสภาพอากาศของดาวเคราะห์อันเนื่องมาจากความลาดเอียงของแกนที่เปลี่ยนแปลงไป [91] |
3.3 พันล้านปี | มีโอกาส 1% ที่แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีอาจทำให้วงโคจรของดาวพุธผิดปกติจนชนกับดาวศุกร์ ส่งผลให้ระบบสุริยะรอบใกล้เกิดความโกลาหล สถานการณ์ที่เป็นไปได้ คือ ดาวพุธชนกับดวงอาทิตย์ ถูกขับออกจากระบบสุริยะ หรือชนกับโลก |
3.5–4.5 พันล้านปี | น้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในมหาสมุทร (ถ้าไม่หายไปก่อนหน้านี้) จะระเหย ภาวะเรือนกระจกที่เกิดจากชั้นบรรยากาศขนาดใหญ่ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบรวมกับความส่องสว่างของดวงอาทิตย์ที่สูงกว่าค่าปัจจุบันประมาณ 35-40% จะส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1,400 K (1,130 °C; 2,060 °F) ร้อนพอที่จะละลายหินพื้นผิวบางส่วนได้ |
3.6 พันล้านปี | ดวงจันทร์ไทรทันของดาวเนปจูน ตกผ่านขึดจำกัด Roche อาจแตกเป็นวงแหวนคล้ายกับดาวเสาร์ |
4.5 พันล้านปี | ดาวอังคารรับแสงอาทิตย์เท่ากับโลกเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน |
< 5 พันล้านปี | ดาราจักรแอนดรอเมดาจะรวมกับดาราจักรทางช้างเผือกโดยสมบูรณ์ ซึ่งหลังจากนั้นจะดาราจักรจะรวมกันและมีชื่อว่าดาราจักร”Milkomeda”. |
5.4 พันล้านปี | ดวงอาทิตย์ใช้ไฮโดรเจนจนหมดและเริ่มที่จะพัฒนาขึ้นเป็นดาวยักษ์แดง |
6.5 พันล้านปี | ดาวอังคารรับรังสีดวงอาทิตย์เท่าๆ กับโลกในทุกวันนี้ หลังจากนั้น ดาวอังคารจะประสบชะตากรรมเดียวกันกับโลกดังที่อธิบายไว้ข้างต้น |
7.5 พันล้านปี | โลกและดาวอังคารเกิดไทดัลล็อก(Tidal locking) กับดวงอาทิตย์ที่ขยายตัว |
7.59 พันล้านปี | โลกและดวงจันทร์มีแนวโน้มที่จะถูกทำลายโดยการตกลงสู่ดวงอาทิตย์ ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะถึงจุดสิ้นสุดของระยะดาวยักษ์แดงและมีรัศมีสูงสุด 256 เท่าของค่าในปัจจุบัน ก่อนการชนกันครั้งสุดท้าย ดวงจันทร์อาจหมุนวนต่ำกว่าขีดจำกัด Roche ของโลก และแตกออกเป็นวงแหวนของเศษซาก ซึ่งส่วนใหญ่ตกลงสู่พื้นผิวโลก ในช่วงเวลานี้ ดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์อาจมีอุณหภูมิพื้นผิวที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต |
7.9 พันล้านปี | การขยายตัวของดวงอาทิตย์อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 256 เท่าของดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน หรืออาจจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 358,400,000 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลให้ดาวพุธ, ดาวศุกร์และอาจจะรวมถึงโลกถูกทำลาย |
8 พันล้านปี | ในเวลานี้ ดวงอาทิตย์เป็น ดาวแคระขาวที่ประกอบด้วยคาร์บอน และ ออกซิเจน ด้วยมวล 54.05 เปอร์เซนต์ของมวลดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน |
22 พันล้านปี | จุดจบของจักรวาลในรูปแบบของการฉีกขาดครั้งใหญ่ (Big Rip) รูปแบบของพลังงานมืดเป็นแบบ w = -1.5.[45] การสังเกตกระจุกกาแล็กซี่ที่ถูกเร่งความเร็วโดย Chandra X-ray Observatory บอกว่าสิ่งนี้จะไม่เกิด |
50 พันล้านปี | สมมติว่าถ้าเรารอดจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์ ในเวลานี้โลกและดวงจันทร์จะไทดัลล็อก(tidelocked) ซึ่งไม่ว่าจะอยู่บนดาวดวงไหนก็จะเห็นอีกดวงแค่ด้านเดียว[47] หลังจากนั้น ปฏิกิริยาไทดัล(tidal action) ของดวงอาทิตย์จะดึงโมเมนตัมเชิงมุมออกจากระบบ ทำให้วงโคจรของดวงจันทร์เสื่อมลงและโลกจะหมุนเร็วขึ้น[48] |
65 พันล้านปี | ดวงจันทร์อาจชนกับโลกเนื่องจากการลดระดับโคจร สมมติว่าโลกและดวงจันทร์ไม่ได้ถูกดวงอาทิตย์ยักษ์แดงกลืนกิน |
100–150 พันล้านปี | การขยายตัวของเอกภพ ทำให้ดาราจักรทั้งหมดเคลื่อนออกไปไกลจากกลุ่มท้องถิ่นของทางช้างเผือกจนเลยออกไปจากแนว cosmic light horizon และถูกลบเลือนไปจากเอกภพที่สังเกตได้ |
150 พันล้านปี | รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลจะเย็นลงจากอุณหภูมิประมาณ 2.7 K ถึง 0.3 K ทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน |
450 พันล้านปี | ตำแหน่งมัธยฐานของ ประมาณ 47 ดาราจักร ของกลุ่มท้องถิ่นจะรวมกันเป็นดาราจักรขนาดใหญ่แห่งเดียว |
800 พันล้านปี | เวลาที่คาดการณ์ไว้ที่การปล่อยแสงจากดาราจักร Milkomeda จะลดลง ในขณะที่ดาวแคระแดงข้ามพ้นระยะ”ดาวแคระน้ำเงิน”ซึ่งสว่างที่สุด |
10^12 (1 ล้านล้านปี) | เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี ในขณะที่กาแล็กซี่ใช้กลุ่มแก๊สที่จำเป็นต่อการสร้างดาวฤกษ์ใหม่ไปจนหมด การขยายตัวของเอกภพที่คาดว่าเป็นความหนาแน่นของพลังงานมืดที่คงตัว จะทำให้ความยาวคลื่นของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลเพิ่ม 1029 เท่า เกินสเกล cosmic light horizon และจะตรวจจับมันซึ่งเป็นหลักฐานของบิกแบงไม่ได้อีก อย่างไรก็ตามสามารถวัดการขยายตัวของเอกภพได้จากการศึกษาดาวที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง |
3×10^13 (30 ล้านล้านปี) | เวลาที่ประมาณการไว้ที่ดาวฤกษ์จะผ่านเข้ามาใกล้ดาวฤกษ์อื่นในละแวกเพื่อนบ้าน เมื่อดาวฤกษ์สองดวงผ่านใกล้กัน วงโคจรดาวเคราะห์ของพวกมันจะถูกทำลายและจะหลุดออกจากระบบ โดยเฉลี่ย ยิ่งวงโคจรดาวเคราะห์ใกล้ดาวฤกษ์เท่าไร มันยิ่งใช้เวลานานที่จะหลุด เพราะวงโคจรของมันแน่นเป็นผลจากแรงโน้มถ่วง[54] |
10^14 (100 ล้านล้านปี) | เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนจาก ยุคแห่งดวงดาว(Stelliferous Era) ไปยัง ยุคเสื่อม(Degenerate Era) ซึ่งเป็นยุคที่ไม่มีไฮโดรเจนอิสระสำหรับสร้างดาวฤกษ์ดวงใหม่อีกแล้ว ดาวฤกษ์ที่เหลือค่อยๆใช้เชื้อเพลิงหมดและตายลง |
1.1–1.2×10^14 (110–120 ล้านล้านปี) | เวลาที่ดาวฤกษ์ทุกดวงในเอกภพใช้เชื้อเพลิงจนหมด (ดาวที่อายุยืนที่สุด ดาวแคระแดงมวลน้อยมีช่วงชีวิตประมาณ 10–20 ล้านล้านปี[52] หลังจากจุดนี้ วัตถุที่มีมวลที่ยังเหลืออยู่คือเศษดาว ได้แก่ ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ ดาวแคระน้ำตาลยังคงอยู่เช่นกัน การชนกันระหว่างดาวแคระน้ำตาลจะสร้างดาวแคระแดงใหม่ โดยเฉลี่ยมีดาวฤกษ์ประมาณ 100 ดวง ที่ยังส่องแสงในที่ที่เคยเป็นทางช้างเผือก การชนกันของเศษดาวมีโอกาสทำให้เกิดซูเปอร์โนวา |
1015 (1 พันล้านล้านปี) | เวลาโดยประมาณที่ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะเราและระบบดาวฤกษ์อื่นจะหลุดออกนอกวงโคจร ในเวลานี้, ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวแคระดำและมีอุณหภูมิเหนือศูนย์องศาสัมบูรณ์อยู่แค่ 5 องศาเซลเซียสเท่านั้น |
1019–1020 (10–100 ล้านล้านล้านปี) | เวลาโดยประมาณที่ 90%–99% ของดาวแคระน้ำตาลและเศษดาว (รวมทั้งดวงอาทิตย์) จะหลุดออกนอกกาแล็กซี เมื่อวัตถุสองชิ้นเข้าไกลกันมากพอ พวกมันจะแลกเปลี่ยนพลังงานของวงโคจรกับวัตถุมวลน้อยกว่าเพื่อที่จะได้รับพลังงาน ด้วยวิธีนี้ซ้ำๆ วัตถุมวลน้อยจะได้พลังงานเพียงพอที่จะหลุดออกจากกาแล็กซี่ กระบวนการนี้ทำให้ดาวแคระน้ำตาลและเศษดาวส่วนใหญ่หลุดออกจากทางช้างเผือก |
1020 (100 ล้านล้านล้านปี) | เวลาโดยประมาณที่โลกจะชนกับดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวแคระดำเพราะการเสื่อมของวงโคจรผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง[58] ถ้าโลกไม่หลุดจากวงโคจรก่อนเมื่อดาวฤกษ์เคลื่อนใกล้กันหรือดูดกลืนโดยดวงอาทิตย์ระยะดาวยักษ์แดง |
1030
| เวลาโดยประมาณที่ดาวที่ยังไม่หลุดจากกาแล็กซี่ (1% – 10%) จะตกลงไปในหลุมดำมวลยวดยิ่งใจกลางกาแล็กซี ณ จุดนี้ ดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่จะพุ่งเข้าหากัน ดาวเคราะห์จะพุ่งเข้าหาดาวฤกษ์ของมัน ผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง (gravitational radiation) มีเพียงวัตถุที่อยู่โดดเดี่ยวได้แก่ เศษดาว ดาวแคระน้ำตาล ดาวเคราะห์ที่หลุดจากวงโคจร และ หลุมดำ ที่ยังคงอยู่ในเอกภพ |
2×1036
| เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 8.2×10ูู^33 ปี |
3×1043
| เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่มากที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 1041 ปี เนื่องจากว่าบิกแบงทำให้เกิดการขยายตัว และกระบวนการเดียวกันนี้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้แบริออนมีมากกว่าแอนติแบริออนในจักรวาลระยะแรก จะทำให้โปรตอนสลายตัวในช่วงเวลานี้, ถ้าโปรตอนสลายตัว ยุคหลุมดำ(Black Hole Era) ซึ่งหลุมดำเป็นวัตถุชนิดเดียวที่เหลืออยู่ในเอกภพ ได้เริ่มขึ้น
|
1065
| สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาประมาณการสำหรับวัตถุที่แข็งจะจัดเรียงอะตอมและโมเลกุลใหม่ผ่าน อุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) สสารทุกอย่างจะกลายเป็นของเหลว |
5.8×1068
| เวลาที่ประมาณการไว้ที่หลุมดำมวล 3 เท่าของดวงอาทิตย์จะสลายตัวเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process) |
1.342×1099
| เวลาที่ประมาณการไว้ที่ หลุมดำใจกลางของ S5 0014+81,ซึ่งเป็นวัตถุที่มีมวลมากที่สุดที่รู้จักในปี 2015 มีมวล 40 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ เหือดหายไปโดยปล่อยรังสีฮอว์คิง (Hawking radiation) โดยโมเมนตัมเชิงมุมเป็นศูนย์(ไม่ใช่หลุมดำที่หมุน) อย่างไรก็ตาม หลุมดำกำลังขยาย เวลาที่ใช้อาจจะนานกว่านี้ |
1.7×10106
| เวลาที่ประมาณการไว้เมื่อหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีมวล 20 ล้านล้านเท่าของดวงอาทิตย์ สลายตัวไปโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process)[61] นี่เป็นจุดจบของยุคหลุมดำ(Black Hole Era) หลังจากนี้ถ้าโปรตอนสลายตัว จักรวาลจะเข้าสู่ยุคมืด(Dark Era) ซึ่งเป็นยุคที่วัตถุทางกายภาพทุกอย่างจะสลายตัวไปเป็นอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ค่อยๆเข้าสู่สถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state)ในระยะฮีทเดธ(Heat Death)ของจักรวาล |
10200
| เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อนิวคลีออนในเอกภพที่สังเกตเห็นได้ สลายตัวไป ถ้ามันไม่ผ่านกระบวนการด้านบน มันจะผ่านกระบวนการอื่นๆในฟิสิกส์อนุภาคสมัยใหม่ เช่น higher-order baryon non-conservation processes, virtual black holes, sphalerons และอื่นๆ ในช่วงเวลา1046 – 10200 ปี |
101500
| สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาที่ประมาณการไว้เมื่อสสารแบริออนทั้งหมดรวมกันเป็น เหล็ก-56 หรือสลายจากธาตุมวลมากกว่านี้เป็น เหล็ก-56 |
10^(10^(26)) | เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้เมื่อวัตถุทุกอย่างที่เกินมวลของพลังค์ (Planck mass) สลายผ่านอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) เป็นหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes) ในเวลาที่ยาวนานนี้เอง เหล็กที่เสถียรอย่างมากจะถูกทำลายด้วยอุโมงค์ควอนตัม ดาวเหล็กดวงแรกที่มวลเพียงพอจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นดาวนิวตรอน ต่อมาดาวนิวตรอนและดาวเหล็กอื่นๆจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นหลุมดำ การสลายของหลุมดำในเวลาต่อมาไปสู่อนุภาคเล็กกว่าอะตอม(กระบวนการใช้เวลาประมาณ 10^100 ปี) จะเกิดขึ้นในสเกลเวลานี้ด้วย |
10^(10^(50)) | เวลาที่ประมาณการไว้ที่ Boltzmann brain ปรากฏในสูญญากาศผ่านทางการลดลงของเอนโทรปี |
10^(10^(76)) | เวลาที่ช้าที่สุดที่ประมาณการไว้ที่ทุกสสารกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes) และต่อมาจะสลายเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในสเกลเวลานี้ด้วย |
10^(10^(120)) | เวลาที่ช้าที่สุดที่จักรวาลจะถึงสถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state) หรือแม้แต่การเกิด false vacuum |
10^(10^(10^(56))) | เวลาที่ประมาณการไว้ เมื่อการกระเพื่อมแบบควอนตัมแบบสุ่ม (random quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างบิกแบงใหม่ เพราะจำนวนวิธีที่ทุกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมในเอกภพที่สังเกตเห็นได้จะรวมตัว คือ 10^(10^(115)) วิธี จำนวนนี้เมื่อคูณด้วย 10^(10^(10^(56))) จึงเกิดการerror นอกจากนี้นี่เป็นเวลาที่การกระเพื่อมแบบควอนตัม (quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างจักรวาลใหม่คล้ายกับของเรา สมมติว่าทุกจักรวาลประกอบไปด้วยอนุภาคเล็กกว่าอะตอมอย่างน้อยจำนวนเท่านี้ และปฏิบัติตามกฎของฟิสิกส์ที่อยู่ในขอบเขตที่ถูกทำนายโดยทฤษฎีสตริงอย่างง่าย ภายในเวลานี้ วัฏจักรชีวิตทั้งหมดของจักรวาลจากบิกแบง (Big Bang) ถึงสถานะพลังงานสุดท้าย (final energy state) ถึงการเกิดใหม่ จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นจำนวนครั้งเท่ากับจำนวนวิธีที่เป็นไปได้ของการรวมอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในจักรวาลที่สังเกตเห็นได้ |
|