Friday, 22 November 2024

5 สิ่งสุดแปลกในโลกวิทยาศาสตร์

12 Feb 2020
1497
ตัวนำยวดยิ่ง
ภาพ CC-BY-SA 3.0

ตัวนำยวดยิ่ง

ตัวนำยวดยิ่ง เป็นตัวนำทางไฟฟ้าที่ดีที่สุด ตัวนำยวดยิ่งมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ เมื่อวัตถุใดเป็นตัวนำยวดยิ่ง วัตถุนั้นย่อมผลักสนามแม่เหล็กภายนอกได้ เมื่อผ่านไฟฟ้าในตัวนำนั้น

ตัวนำยวดยิ่งค้นพบมาในต้นศตวรรษ 1900 และสามารถนำมาประยุกต์เป็นที่เก็บพลังงาน และสิ่งอื่นๆได้แต่ต้องคงอุณหภูมิต่ำไว้

ที่มา

มวลเชิงลบ
ภาพ CC-BY-SA 3.0

มวลเชิงลบ

มวลเชิงลบเป็นผลจากการตีความของไอสไตน์ในการคำนวณการมีอยู่ของรูหนอน มวลเชิงลบไม่เคยได้รับการค้นพบเลยนับแต่นั้น

แต่หากมันมีอยู่จริงมันจะปฏิสัมพันธ์กับสนามโน้มถ่วงในทางตรงข้ามกับมวลทั่วไป

https://en.m.wikipedia.org/wiki/Negative_mass

สสารควบแน่นโบส-ไอสไตน์

ได้รับการพยากรณ์โดยไอสไตน์ในปี 1925 เมื่อสสารได้รับการลดความเย็นลงจนถึงเศษเสี้ยวของ 1 องศาเคลวินก่อน 0 องศาสมบูรณ์ สสารนี้มีความพิเศษตรงที่มันเย็นมากจนเห็นสมบัติประหลาดที่ปกติจะสังเกตุได้ในระดับอะตอมเท่านั้น เช่นสสารดังกล่าวสามารถคลานออกจากภาชนะที่บรรจุไว้ได้ถ้ารักษาความเย็นไว้

สสารควบแน่นโบส-ไสไตน์ไม่เคยได้รับการค้นพบจนปี 1995 จนทำให้การค้นพบดังกล่าได้รับโนเบลฟิสิกส์ในปี 2001 และมีการค้นพบผลการทำนายต้นฉบับของไอสไตน์ในปี 2005

ที่มา

กราฟีน

กราฟีน
ภาพ CC-BY-SA 3.0

กราฟีน เป็นวัสดุในสองมิติได้รับการกล่าวถึงมาตั้งแต่ปี 1859 มีความพยายามค้นพบจนถึงคำนวณทางทฤษฎีถึงการมีอยู่ของกราฟีนมายาวนาน คุณสมบัติการเคลื่อนที่แบบ ballistic ของ electron ในกราฟีน ทำให้เชื่อว่ากราฟีนจะนำไฟฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม นอกเหนือนั้นยังอาจมีสมบัติที่เหนือกว่าวัสดุอื่นๆอีกด้วย

กราฟีนได้รับการสังเคราะห์ด้วยวิธี micro-mechanical method โดย Andre Geim และ Novoselov ในปี 2004 นำไปสู่การรับรางวัลโนเบลทางฟิสิกส์ในปี 2007

ที่มา

แม่เหล็กขั้วเดียว
ภาพ Public Domain

แม่เหล็กขั้วเดียว

แม่เหล็กขั้วเดียว เป็นวัตถุทางทฤษฎีที่ทำนายโดย Pual Dirac แม่เหล็กขั้วเดียวเป็นสิ่งที่จะช่วยอธิบายว่าเหตุใดประจุทางไฟฟ้าถึงมีปริมาณเป็นจำนวนเท่าของค่าหนึ่ง

Pual Dirac ทำการคำนวณและอธิบายจากทฤษฎีทางควอนตัม พบว่าแม่เหล็กขั้วเดียวเป็นสาเหตุในการกำหนดปริมาณประจุ

ภายหลังนักวิทยาศาสตร์พากันค้นหาและทดลองเพื่อค้นพบแม่เหล็กขั้วเดียวกันอย่างยาวนานนับแต่บทความในปี 1931 แต่ไม่มีผู้ใดพบเลย

ที่มา