รางวัลโนเบลสาขาเคมีตกเป็นของ Stanley Whittingham, John Goodenough และ Akira Yoshino ในผลงานการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
ช่วงปี 1970 ความต้องการลดการพึ่งพาน้ำมัน Whittingham ศึกษาวัสดุ superconductor จนนำไปพบกับวัสดุที่มีค่าพลังงานสูงในการทำขั้วแคโทดของแบตเตอรี่ลิเธียม นั่นคือ ไททาเนี่ยม ไดซัลไฟด์
ต่อมา Goodenough ทำนายว่า ออกไซด์ของโลหะสามารถให้ความต่างศักย์สูงกว่าเมื่อนำมาใช้เป็นขั้วแคโทด
ในปี 1985 Yoshino ใช้ ปิโตรเลียมโค้ก ทำขั้วแอโนด แทนลิเธียม และทำให้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนชาร์จได้หลายร้อยรอบ
จนหลังปี 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นที่นิยมจนปัจจุบันและ Goodenough กลายเป็นผู้มีอายุมากที่สุดในการรับรางวัลโนเบลอีกด้วย